ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2559 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยมีพายุโซนร้อน 26 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และในจำนวนนี้ 6 ลูกเป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาลนี้ชื่อ เนพาร์ตัก ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ส่วนพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกสุดท้ายชื่อ นกเตน สลายตัวเมื่อวันที่ 28 ธันวาคมการก่อตัวขึ้นของพายุเนพาร์ตัก ซึ่งเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาล ทำให้ช่วงเวลาที่แอ่งว่างเว้นจากการมีพายุที่ได้รับชื่อ (มีความรุนแรงมากกว่าพายุโซนร้อน) ถึง 199 วัน (17 ธันวาคม 2558 ถึง 3 กรกฎาคม 2559) สิ้นสุดลง ต่อมาพายุโซนร้อนมีรีแนพัฒนาขึ้นจนมีกำลังสูงสุด ขณะพัดขึ้นฝั่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง ทำให้เกิดความเสียหายรายแรงในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม ต่อมาในสิ้นเดือนสิงหาคม พายุสามลูกได้พัดเข้าเกาะฮกไกโด ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ในเดือนกันยายน พายุไต้ฝุ่นเมอรันตีพัฒนาขึ้นจนถึงจุดที่มีกำลังแรงที่สุด โดยมีความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลาง 890 hPa กลายเป็นหนึ่งในพายุที่มีความรุนแรงที่สุดในบันทึกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก ต่อมาพายุไต้ฝุ่นชบากลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศเกาหลีใต้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ขณะที่พายุโซนร้อนแอรีและพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งเลวร้ายในประเทศเวียดนาม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ส่วนพายุลูกเกือบสุดท้ายของฤดูกาลอย่าง พายุไต้ฝุ่นนกเตน กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงที่สุดทั่วโลก ที่มีกำลังอยู่ในวันคริสมาสต์ (25 ธันวาคม) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 อย่างน้อยเป็นต้นมา ในแง่ของความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาทีขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 972 คน
• ความกดอากาศต่ำที่สุด 890 hPa (มิลลิบาร์)
พายุโซนร้อนทั้งหมด 26 ลูก
• ลมแรงสูงสุด 220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
พายุไต้ฝุ่น 13 ลูก
ชื่อ เมอรันตี
ความเสียหายทั้งหมด 1.89 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2016)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 51 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ระบบสุดท้ายสลายตัว 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 6 ลูก (ไม่เป็นทางการ)

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 http://199.9.2.143/tcdat/tc16/WPAC/05W.MIRINAE/tra... http://www.ctvnews.ca/world/death-toll-rises-to-15... http://www.globaltimes.cn/content/1013460.shtml http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.nmc.cn/publish/typhoon/warning.html http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200...